“ซุยยากุ เอสเซนซ์” ผู้นำด้านสมุนไพรสกัด สร้างความหวังคนไทยให้เป็นจริง ปั้น

“พลูคาว” สมุนไพรไทยที่ช่วยสร้างภูมิและต้านไวรัสได้จริง

       ซุยยากุ เอสเซนซ์ ผู้นำด้านสมุนไพรสกัดและผู้ผลิตเครื่องดื่มสมุนไพรซุยยากุ พร้อมเปิดตัวเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพสร้างภูมิและต้านไวรัสได้จริง ด้วยเอกสิทธิ์หนึ่งเดียวในประเทศไทย กับ 4 งานวิจัยซึ่งได้รับการรับรองจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่กับรางวัลนวัตกรรมด้วย 2 อนุสิทธิบัตร  โดยนำ “พลูคาว” มาค้นคว้าและวิจัยมากกว่า 1 ทศวรรษ หรือราว 10 กว่าปี เพื่อให้ได้กระบวนการผลิตที่เหมาะสม ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ ผ่านการพิจารณารับรองโดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  ว่ามีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะสามารถขึ้นทะเบียนให้อยู่ในบัญชีนวัตกรรมไทย ถือเป็น “นวัตกรรมไทยเจ้าแรก”

      ดร.รัฐวิชญ์ สิริอมรสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พาว มิราเคิล จำกัด กล่าวว่า “รู้สึกมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่วันนี้เราได้รับมอบสิ่งล้ำค่าเป็นความหวังของคนไทยเรื่องการมีสุขภาพที่ดี ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของเรา ที่ต้องการนำสมุนไพรไทยที่มีงานวิจัยรับรองมาผลิตเป็นเครื่องดื่มเพื่อช่วยทำให้คนไทยได้คุณประโยชน์เพื่อสุขภาพอย่างแท้จริง โดยครั้งนี้เป็นเกียรติและความภูมิใจที่สุดที่เราได้รับมอบนวัตกรรมงานวิจัย  “นวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรพลูคาวสกัด”  จาก  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดยท่านผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุจินดา ศรีวัฒนะ คณบดี   คณะอุตสาหกรรมเกษตร  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ส่งมอบให้ บริษัท ซีเอ็มเอช ไลฟ์ ไซเอ็นซ์ จำกัด ในฐานะผู้ผลิตและจัดจำหน่ายที่ได้รับเอกสิทธิ์หนึ่งเดียวในประเทศไทย เพื่อนำมาต่อยอดและผลิตเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่สร้างภูมิและต้านไวรัสได้อย่างแท้จริง” กว่าปี เพื่อให้ได้กระบวนการผลิตที่เหมาะสม ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ ผ่านการพิจารณารับรองโดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  ว่ามีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะสามารถขึ้นทะเบียนให้อยู่ในบัญชีนวัตกรรมไทย ถือเป็น “นวัตกรรมไทยเจ้าแรก”

       “พลูคาว”  พืชสมุนไพรท้องถิ่นของภาคเหนือ  ที่มีคนรู้จักในนามของคาวตอง  พืชสมุนไพรพื้นบ้าน สำหรับใช้เป็นผักเครื่องเคียงในเมนูอาหารของชาวเหนือ  โดยพลูคาวสกัดนั้น ถือหัวใจสำคัญของผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มสมุนไพรซุยยากุ  ที่ได้จากการบูรณาการเทคโนโลยีการนำส่งจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์เข้ากับการผลิตเครื่องดื่มสมุนไพร เพื่อเพิ่มคุณประโยชน์ต่อสุขภาพให้แก่เครื่องดื่ม มีส่วนประกอบหลักมาจากใบและยอดอ่อนของ “พลูคาว” และยังมีส่วนประกอบของสมุนไพรอีก 10 ชนิดที่ล้วนมีประโยชน์ต่อสุขภาพ การนำสมุนไพรเหล่านี้มาผ่านกระบวนการผลิตด้วยวิธีที่เหมาะสม จึงทำให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ “ซุยยากุ” เครื่องดื่มสมุนไพรที่รวมคุณค่าของสมุนไพรหลากหลายชนิด เพื่อการบำรุงสุขภาพให้แข็งแรงสมบูรณ์

      สมุนไพรพลูคาวสกัด สู่นวัตกรรมใหม่  ผลงานวิจัยคณะอาจารย์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่    ร่วมกับ  บริษัท ซีเอ็มเอช เชียงใหม่โฮลดิ้ง จำกัด   สร้างนวัตกรรมสมุนไพรในรูปแบบใหม่  ที่นำสารสำคัญจากสมุนไพรที่ได้มีการบริโภคอย่างแพร่หลายในภาคเหนือ อย่างพลูคาว  มาศึกษาวิจัยพัฒนา  ได้สมุนไพรนวัตกรรม  ที่มีสารออกฤทธิ์ คุณประโยชน์ที่เพิ่มมากขึ้น   และยังที่สามารถพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในรูปแบบต่างๆ  เพื่อเป็นทางเลือกด้านสุขภาพให้แก่ผู้บริโภค

ผลงานภายใต้โครงการวิจัยจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ร่วมกับ  บริษัท ซีเอ็มเอช เชียงใหม่โฮลดิ้ง จำกัด จำนวน 4 ฉบับดังนี้

       งานวิจัยที่ 1 ปีพ.ศ.2554  เรื่อง  การวิเคราะห์ค่าทางโภชนาการ  สาระสำคัญและฤทธิ์การต่อต้านอนุมูลอิสระของน้ำผลไม้ผสมสมุนไพรพร้อมดื่ม โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.  เอกสิทธิ์  จงเจริญรักษ์   พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยใช้สารสกัดพลูคาวจากงานวิจัยนั้น  มีสารประกอบฟีนอลิก และฟลาโวนอยด์เป็นองค์ประกอบ สารหลักที่พบคือ epicatechin ซึ่งเป็นสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ และลดการเกิดออกซิเดชันของไขมันในหลอดเลือด (เอกสิทธิ์, 2554)

       งานวิจัยที่ 2 ปีพ.ศ.2556  เรื่อง การพัฒนากระบวนการผลิตพลูคาวผสมน้ำผลไม้และสมุนไพรได้มาซึ่งจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์           (Probiotics)  โดยอาจารย์ อิศรพงษ์  พงษ์ศิริกุล     พัฒนาการเทคโนโลยีการผลิต  ให้มีความเฉพาะเจาะจงเพื่อได้สารออกฤทธิ์ในปริมาณ จากการค้นคว้าวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการผลิตเทคนิคพิเศษ สามารถนำส่งจุลินทรีย์กลุ่มกรดแลคติก (Lactic acid bacteria หรือ LAB) สามารถจดอนุสิทธิบัตรวิธีการผลิต (อิสรพงษ์, 2556)

       งานวิจัยที่ 3 ปีพ.ศ.2558 การศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดจากใบพลูคาวเพื่อยกระดับความสามารถด้านการแข่งขันในเชิงพาณิชย์ของผลิตภัณฑ์   โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.  เอกสิทธิ์  จงเจริญรักษ์   พบว่าเมื่อศึกษาวิจัยถึงฤทธิ์ทางชีวภาพในหลอดทดลอง พบว่าสามารถยับยั้งอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น และการเกิดโรคเรื้อรัง กลุ่มโรค NCDs ชนิดไม่ติดต่อ เช่น มะเร็ง เบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น และยังสามารถยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งได้หลายชนิด ได้แก่ มะเร็งปอด มะเร็งช่องปาก มะเร็งเต้านม มะเร็งตับ และมะเร็งลำไส้ใหญ่ ส่วนในการศึกษาความเป็นพิษต่อเซลล์ พบว่าไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ไตของลิง และเซลล์ผิวหนังของมนุษย์

       งานวิจัยที่ 4  ปีพ.ศ.2563  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.  เอกสิทธิ์  จงเจริญรักษ์   ได้ทำการศึกษาต่อเนื่อง  โดยมุ่งสร้างเอกลักษณ์ในส่วนของกระบวนการผลิตของสารสกัดจากใบพลูคาว เพื่อยกระดับความสามารถด้านการแข่งขันในเชิงพาณิชย์ของผลิตภัณฑ์ โดยเลือกใช้นวัตกรรมการย่อยด้วยกลุ่มของเอ็นไซม์เฉพาะเจาะจง (Enzyme Hydrolyses (EN.HYDRO)) เพื่อผลิตโมเลกุลของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในรูปฟอร์มที่มีขนาดเล็กลง ทำให้มีกิจกรรมทางชีวภาพใหม่เกิดขึ้นและยังทำให้เกิดการดูดซึมได้ง่ายยิ่งขึ้น นำส่งสารออกฤทธิ์เข้มข้นขึ้นกว่างานวิจัยตัวก่อน (เอกสิทธิ์, 2563)

      งานวิจัยที่ 5 ปีพ.ศ.2565 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เอกสิทธิ์ จงเจริญรักษ์ พัฒนาเทคนิคการสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากใบพลูคาว
การประยุกต์ใช้เอนไซม์ช่วยในการสกัดสารจากสมุนไพรเป็นผลให้สารออกฤทธิ์ภายในเนื้อเยื่อสมุนไพรถูกสกัดออกจากเซลล์ได้ง่ายยิ่งขึ้น ช่วยเพิ่มปริมาณของสารสกัด และทำให้คุณภาพของการสกัดดียิ่งขึ้น นอกจากนั้นการใช้เอนไซม์ช่วยในการสกัดยังมีความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นกระบวนการพัฒนาที่ยั่งยืนและมีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
งานวิจัยฉบับนี้กล่าวถึง กรรมวิธีการสกัดสารจากพลูคาว โดยการ “การพัฒนาเทคโนโลยีการสกัดสารออกฤทธิ์ความเข้มข้นสูงจากสมุนไพรพลูคาวด้วยวิธีการใช้เอนไซม์ร่วม” ภายใต้สภาวะการสกัดที่เหมาะสม พบว่า การสกัดวิธีพิเศษดังกล่าว ให้ปริมาน phenolic compound และ flavonoid สูงจาก การสกัดรูปแบบดั้งเดิม 1-2 เท่า ส่งผลให้ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ เพิ่มสูงขึ้นมากถึง 200% ซึ่งเป็น สารประกอบออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากสมุนไพรพลูคาว สำหรับนำไปประยุกต์เป็นส่วนประกอบเชิงฟังก์ชันในอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพ (เอกสิทธิ์, 2565)

       นอกจากนี้ “พลูคาวสกัดเข้มข้น”   จากงานวิจัยจึงเป็นเอกสิทธิ์หนึ่งเดียวในประเทศไทย ทั้งในกระบวนการผลิตในรูปแบบเครื่องดื่ม   ผงบรรจุซอง  และผงบรรจุแคปซูล เป็น อนุสิทธิบัตร  3 ฉบับ  ซึ่งนอกจากงานวิจัยต่อเนื่องทั้ง 4 ฉบับแล้ว ยังมีงานวิจัยทั้งในไทยและต่างประเทศ  เกี่ยวกับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของพลูคาวสกัด  ว่านอกจากมีส่วนในการลดการอักเสบ  เพิ่มอัตราการรอดชีวิตของเซลล์ที่ติดเชื้อ HIV-1  ลดการลุกลามของเชื้อไวรัสเริม  และอีสุกอีใส ยังมีฤทธิ์ในการ “ต่อต้านไวรัส”   มีงานวิจัยอ้างอิงถึงผลยับยั้งเชื้อ SARS-CoV ที่เป็นสาเหตุของโรค severe acute respiratory syndrome (SARS)    โดยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ 3C-like protease (3CLpro) และ RNA-dependent RNA polymerase (RdRp)   ซึ่งเป็นเชื้อกลุ่มเดียวกันกับโคโรน่าไวรัส  ที่ก่อให้เกิดโรค  Covid – 19  ในปัจจุบัน

 

       จากงานวิจัยทั้งหมดที่กล่าวมานั้น   ได้นำมาต่อยอดเชิงพาณิชย์  ให้เป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพ  โดยใช้ “พลูคาวสกัดเข้มข้น”  (Essence,Extract) ที่ได้จากงานวิจัย   ร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ  ตามแต่วัตถุประสงค์ และเป้าหมายของฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่ต่างกันในผลิตภัณฑ์ต่างๆ  ที่มุ่งพัฒนาสารสกัดพลูคาวจากงานวิจัย  จนสามารถผลิตออกมาเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ให้ผลได้จริง